สายพานลำเลียงและรถ AGV


ระบบสายพานลำเลียง
  ระบบสายพานลำเลียง Belt Conveyor System เป็นระบบสายพานลำเลียงที่เหมาะสำหรับโรงงานอุตสาหกรรมผลิตชิ้นงาน ทุกชนิด


            ระบบสายพานลำเลียง (Belt Conveyorคือ อุปกรณ์ลำเลียง (Conveyorที่ใช้สายพาน (Belt) เป็นตัวนำพาวัสดุ ระบบสายพานลำเลียงทำหน้าที่เคลื่อนย้ายวัสดุจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่ง  หลังจากวัสดุหรือชิ้นงานผ่านกระบวนการตามขั้นตอนมา เมื่อมาถึงการขนย้ายหรือลำเลียงก็จะใช้ระบบสายพานลำเลียง (Belt Conveyor System) ในการเคลื่อนย้ายวัสดุหรือชิ้นงาน
ดังนั้น ระบบสายพานลำเลียงจึงเหมาะสำหรับ โรงงานอุตสาหกรรมทุกประเภท ที่ใช้ระบบสายพานลำเลียงในกระบวนการผลิต

ระบบสายพานลำเลียง (Belt Conveyor System) มี 4 ประเภท
1. ระบบสายพานลำเลียง Plastic Belt Conveyor System (แบบพลาสติก)
            ระบบสายพานลำเลียง Plastic Belt Conveyor System (แบบพลาสติก) สำหรับลำเลียงชิ้นงานหรือวัสดุขึ้นในแนวลาดเอียง ในไลน์การผลิตที่มีการลำเลียงต่างระดับ ระบบสายพานลำเลียงแบบพลาสติก สามารถลำเลียงผ่านน้ำหรือลำเลียงชิ้นงานที่เปียกได้ และยังไม่เป็นสนิท ลักษณะการทำงานของระบบสายพานลำเลียงแบบพลาสติก จะลำเลียงจากจุดหนึ่งไปอีกจุดหนึ่ง โดยการลำเลียงจะมีลักษณะแนวลาดเอียง ลำเลียงจากที่ต่ำขึ้นสู่ที่สูง องศาลาดเอียงของระบบสายพานลำเลียงแบบพลาสติก จะเริ่มตั้งแต่ 10องศา และไม่เกิน 45องศา เหมาะสำหรับงานลำเลียงประเภทยาง , อาหาร , บรรจุภัณฑ์หีบห่อ หรือ ลำเลียงสิ่งของที่ต้องผ่านเครื่อง X-Ray …



2. ระบบสายพานลำเลียง Canvas Belt Conveyor System (แบบผ้าใบ)
           ระบบสายพานลำเลียง Canvas Belt Conveyor System (แบบผ้าใบ) สำหรับลำเลียงชิ้นงานหรือวัสดุ ระบบสายพานลำเลียงแบบผ้าใบ สามารถทนความร้อนได้และมีความยืดหยุ่นค่อนข้างน้อยเมื่อรับแรงดึง ลักษณะการทำงานของระบบสายพานลำเลียงแบบผ้าใบจะลำเลียงจากจุดหนึ่งไปอีกจุดหนึ่ง โดยสามารถขยับตัวระบบลำเลียงให้ตรงกับไลน์การผลิตได้ เหมาะสำหรับงานลำเลียงประเภทยาง , อาหาร เป็นต้น …



3. ระบบสายพานลำเลียง PVC Belt Conveyor System (แบบ PVC)
          ระบบสายพานลำเลียง PVC Belt Conveyor System (แบบ PVC) สำหรับลำเลียงชิ้นงานหรือวัสดุที่มีน้ำหนักเบา ระบบสายพานลำเลียงแบบ PVC สามารถทนความร้อนได้และราคาถูก ลักษณะการทำงานของระบบสายพานลำเลียงแบบ PVC จะลำเลียงจากจุดหนึ่งไปอีกจุดหนึ่ง เหมาะสำหรับงานลำเลียงในอุตสาหกรรมอาหาร สินค้าที่บรรจุหีบห่อที่มีน้ำหนักเบาและต้องการความสะอาด



4. ระบบสายพานลำเลียง Metal Detector Belt Conveyor System
          ระบบสายพานลำเลียง Metal Detector Belt Conveyor System (เครื่องตรวจหาโลหะ) มีระบบสายพานลำเลียง 2 แบบ คือ 1.แบบพลาสติก 2. แบบ PVC สำหรับลำเลียงชิ้นงานหรือวัสดุเข้าเครื่องตรวจหาโลหะ หลังจากชิ้นงานหรือวัสดุผ่านกระบวนการขั้นตอนต่าง ๆ มาแล้ว เมื่อมาถึงเครื่องตรวจหาโลหะ ในรูปแบบบรรจุภัณฑ์หรือรูปแบบชิ้นงาน เช่น ซองพลาสติก กล่องกระดาษ ขวดแก้ว ยาง เครื่องตรวจหาโลหะใช้พลังงานแม่เหล็ก โดยทำให้เกิดสนามแม่เหล็ก (Electro Magnetic Field) เมื่อมีโลหะ เช่น เหล็กปนอยู่ในแผ่นยาง เครื่องจะทำการแจ้งเตือนในรูปแบบต่างๆ เช่น ร้องเตือน ผลักออก หรือหยุดเครื่อง



ปัญหาที่เกิดจากการใช้สายพานลำเลียง
      ลูกกลิ้งเสียหายเนื่องจากการขัดสี หรือลูกปืนแตก ลูกกลิ้งไม่หมุน ทำให้เกิดการสูญเสียพลังงานในการทำงานของเครื่องจักร เพราะความเสียดทานเพิ่มขึ้น หรือเป็นสาเหตุหนึ่งของปัญหาสายพานเดินไม่ตรงแนว เพราะวัสดุที่สะสมตามลูกกลิ้งรีเทิร์นนั้นจะมีผลทำให้ขนาดของลูกกลิ้งเปลี่ยนไปไม่เท่ากันตลอดแนวคือไม่ได้แนวขนานกันตามที่ควร ปัญหาการทำความสะอาดบริเวณใต้จักรซึ่งในบางครั้งอยู่ในพื้นที่คับแคบทำให้ต้องมีการหยุดเครื่องจักรเพื่อการทำความสะอาด เสียค่าใช้จ่ายในการสตาร์ทเครื่องอีก รวมถึงการเกิดฝุ่นละอองในอากาศ เมื่อมีลมพัดผ่านจุดที่วัสดุกองสะสมเกิดเป็นมลภาวะต่อสิ่งแวดล้อมวัสดุบางประเภทถ้ามีการสะสมมากๆอาจทำให้เกิดความร้อนสูงการติดไฟ อาจนำมาซึ่งไฟไหม้ระบบสายพานลำเลียงหรือไฟไหม้โรงงานได้ 
    
ผลกระทบที่เกิดจาก
1.  พลังงาน ต้องการพลังงานมากขึ้นในการขับเคลื่อนเครื่องจักร เนื่องจากความเสียดทานในระบบเพื่มขึ้นจากการที่ลูกกลิ้งไม่หมุน และสายพานเคลื่อนที่ถูไปกับกองวัสดุที่สะสมกันจนถึงระดับการเคลื่อนที่ของสายพาน
2.ความเสียหายของชิ้นส่วนเครื่องจักร
   - ลูกกลิ้ง เสียหายเนื่องจากลูกปืนตาย และอื่นๆ2.2   โครงสร้าง ในกรณีที่เครื่องสายพานลำเลียงวัสดุที่กัดกร่อน เช่น น้ำตาล สารเคมี ปุ๋ย ซึ่งกัดกร่อนโครงสร้างให้ชำรุดเสียหายได้2.3   อายุการใช้งานของสายพานสั้นลงเนื่องจากการถูกขัดสี หรือการเสียหายเนื่องจากสายพานวิ่งไม่ได้แนวทำให้ขอบสายพานไปชนเข้าโครงสร้างขอบแตก เมื่อขอบแตกชั้นผ้าใบที่อยู่ภายก็จะสามารถสัมผัสกับวัสดุได้ทำให้ชั้นผ้าใบเสื่อมคุณภาพได้ง่ายขึ้น อายุการใช้งานสายพานจึงสั้นลง
3. การทำความสะอาด ต้องกำลังคนในการทำความสะอาดและต้องหยุดเครื่องจักรก่อนเข้าไปทำงานบริเวณใกล้เครื่องเพื่อความปลอดภัยในการทำงานตามมาตรฐานสากล นำมาซึ่งค่าใช้จ่ายในการสตาร์ทเริ่มเดินเครื่องใหม่ ค่าจ้างแรงงานในการทำความสะอาด ค่าเสียเวลาในการหยุดเครื่องรอ
4. วัสดุที่ร่วงระหว่างการลำเลียงกลายวัสดุที่สูญเสีย (Product loss) ในกระบวนการผลิต ซึ่งก็ทำให้บริษัทสูญเสียรายได้ด้วยเช่นกัน ยิ่งถ้าเป็นกรณีที่วัสดุที่ลำเลียงนั้นมีมูลค่าสูง หรือค่าใช้จ่ายที่เกิดจากการนำเศษวัสดุเหล่านั้นกลับเข้าในกระการผลิตอีกครั้ง
5. อุบัติเหตุ อันเนื่องมาจากสภาพแวดล้อมในการทำงานไม่ปลอดภัย
ประสิทธิภาพการผลิตโดยรวมลดลง

------------------------------------------------------------------------------------------------------



ระบบ AGV



       รถขนส่งเคลื่อนที่อัตโนมัติ (Automated Guided Vehicle System หรือ AGVS)  มีหลายชนิดให้เลือกตามความเหมาะสมของการใช้งานตั้งแต่ การใช้งานแบบลากจูง container ,แบบยก container จนถึงแบบรถยก (Forklift) ในลักษณะต่างๆ โดยมีระบบควบคุมเส้นทางและนำทางการขับเคลื่อน (The Vihicle Navigation & Guidance System) ด้วยการเหนี่ยวนำของสนามแม่เหล็กที่ฝังอยู่ในพื้นผิวทางเดินรถ AGV หรือแบบควบคุมโดยการ ตรวจจับด้วยแสงเลเซอร์เพื่อให้รถ AGV สามารถเคลื่อนที่ไปตามเส้นทางที่กำหนดได้
รถ AGV แต่ละชนิดรับน้ำหนักได้ต่างกันตั้งแต่ 400-1,200 กิโลกรัม หรือมากกว่า ขึ้นอยู่กับการใช้งานแต่ละประเภท โดยมีความเร็วในการขับเคลื่อน 1.2-1.7 เมตร ต่อวินาที

รถ AGV ทุกคันจะติดตั้งระบบเลเซอร์ตรวจจับความเคลื่อนไหวที่ประกันได้ว่ามีระดับความปลอดภัยสูงสุด โดยติดตั้งทั้งด้านหน้าและหลังของตัวรถ และแบ่งการเตือนภัยออกเป็น 2 พื้นที่ คือ พื้นที่เตือนภัย( Warning Area)และพื้นที่หยุด (Stopping Area) กล่าวคือ ถ้ามีบุคคลเดินเข้าในเขตพื้นที่เตือนภัย รถ AGV จะลดความเร็วลงจากความเร็วสูงสุด (Maximum Speed) เป็นลักษณะแบบเคลื่อนที่ช้า (Crawling Speed) และถ้าตรวจจับได้ในพื้นที่หยุด รถ AGV จะหยุดทันที โดยระยะทางของพื้นที่เตือนและพื้นที่หยุด จะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับระดับความเร็วของรถ AGV

ทั้งนี้แบตเตอรี่ที่ใช้เป็นแบบ Maintenace Free สามารถใช้งานได้ติดต่อกันแบบต่อเนื่องนานถึง 8-10 ชั่วโมง โดยไม่ต้องนำแบตเตอรี่ออกจากตัวรถ    



ประโยชน์ของรถ AGV
     รถ AGV power stacker 1 คัน สามารถขับเคลื่อนโดยไม่ต้องใช้พนักงานขับ จะสามารถประหยัด
ค่าแรงคนงาน ได้ดังนี้ (ประมาณการที่ค่าแรงขั้นต่ำ300บาท และค่าสวัสดิการอื่นๆ)
ถ้าใช้งานAGV 1 กะ:วัน (8ชม.) ลดค่าใช้จ่ายแรงคนงาน 1 คน = 10,000 ฿:เดือน หรือ = 120,000฿:ปี
ถ้าใช้งานAGV 2 กะ:วัน (16ชม.)ลดค่าใช้จ่ายแรงคนงาน 2 คน = 20,000 ฿:เดือน หรือ = 240,000฿:ปี
ถ้าใช้งานAGV 3 กะ:วัน (24ชม.) ลดค่าใช้จ่ายแรงคนงาน 3 คน = 30,000 ฿:เดือน หรือ = 360,000฿:ปี 

       ในการลงทุนปรับปรุงรถยกให้เป็นรถ AGV ประมาณเบื้องต้นว่า มีค่าใช้จ่ายราว 300,000 ฿ ต่อคัน จะสามารถคืนทุนในเวลา      2ปี 6 เดือน ถ้าใช้งาน 1 กะ:วัน  /  1ปี 3 เดือน ถ้าใช้งาน 2 กะ:วัน
เพียง 10 เดือน ถ้าใช้งาน 3 กะ:วัน    ซึ่งถ้าลงทุนใช้รถ AGV หลายคันทางบริษัทก็จะสามารถลดค่าใช้จ่ายได้อีกเป็นอัตราเพิ่มขึ้น

เพิ่มประสิทธิภาพและปริมาณการทำงาน
1. รถAGV เริ่มงานได้ตรงเวลา ตั้งแต่ 8 โมงเช้า ถึง 5 โมงเย็นโดยไม่ต้องหยุดพัก เข้าห้องน้ำ ทานกาแฟ สูบบุหรี่ หรือ คุยโทรศัพท์ 
2. รถAGV ไม่ลาหยุด หรือ ลากิจ ไม่ขาดงานบ่อย งานจะเดินได้สม่ำเสมอ
3. กรณี รถเสียทางบริษัทมีบริการ Service online เป็นบริการที่รวดเร็ว และมีค่าใช้จ่ายน้อย หรือถ้าต้อง มีการ service onsite เราก็สามารถบริการได้รวดเร็ว เพราะเป็นช่างในเมืองไทย ไม่ต้องรอจากต่างประเทศ
4. ความคุ้มทุนจึงเกิดจากปริมาณงานที่เพิ่มขึ้นด้วย

ลดต้นทุนแฝงด้านความเสียหายที่เกิดจากคนขับ
1. ความผิดพลาดจากมนุษย์เป็นเรื่องปรกติ การขับเฉี่ยว ชน เกิดขึ้นจากความประมาท เลินเล่อ ซึ่งจะไม่เกิดขึ้นกับรถAGV เป็นการลดความเสียหายของสินค้าและตัวรถยกเองก็มีอายุการใช้งานยาวนานขึ้น
2. การลงทุนด้าน Automation จึงเป็นการลงทุนที่คุ้มในระยะยาว ช่วยลดต้นทุนความเสียหาย โดยการควบคุมด้วยโปรแกรมอัตโนมัติ และ อุปกรณ์ป้องกันการเฉี่ยว ชน

3. ความคุ้มทุนจะมาอยู่ที่ประสิทธิภาพการทำงานที่ ปราศจากอุบัติเหตุ ลดค่าใช้จ่ายการซ่อมแซม


ความคิดเห็น